Sideway
Cut loss หรือการตัดขายทุน เมื่อหุ้นเป็นขาลง หุ้นตัวใดที่ราคาตกลงไปเป็นตัวสีแดง เราต้องติดตามว่าหุ้นตัวนั้นจะลงไปมากน้อยแค่ไหน เราอาจตั้งปริมาณการขาดทุนไว้ เช่น ถ้าติดลบ 1000บาท เมื่อไหร่เราจะขายหุ้นตัวนั้นออกไป ผู้ที่ไม่มีเวลาดูน่าจอเพื่อติดตามหุ้น สามารถใช้โปรแกรมการตั้งราคาซื้อขายอัตโนมัติได้ โดยสอบถามกับเจ้าหน้าที่การตลาดประจำตัวของคุณ เพื่อที่จะตัดขายทุนได้ในเวลาที่หุ้นลงแรงๆ
ตัวอย่าง ถ้าเรามีหุ้น 6 ตัว มี 4ตัวที่มีกำไรเป็นสีเขียว มีหุ้น 2ตัวขาดทุนเป็นสีแดง กำไรสุทธิของพอร์ตหุ้นอยู่ที่ 4,000บาท สมมุติหุ้นสองตัวที่ขาดทุนตัวละ 1,000บาท รวมขาดทุน 2,000บาท เมื่อเราตัดสินใจตัดขาดทุน กำไรสุทธิของเราจะกลับมาเป็น 6,000บาท (4000 - (-2000) = 6000) ฉะนั้นเราไม่ต้องไปเสียดายหุ้นตัวที่ทำเราขาดทุน รีบขายออกตัดขายทุนออกไป แต่ถ้าเราเป็นนักลงทุนระยะยาว และเชื่อว่าหุ้นตัวนั้นมีพื้นฐานดี หลังจากราคาตกลงไปแล้วหุ้นก็จะขึ้นกลับมาในอนาคต ประมาณว่า ศรีทนได้ (ฟังทีวีพอดี) ก็ใจเย็นๆ ถือต่อไปได้
ในช่วงตลาด sideway แบบนี้ เราควรเลือกหุ้นตัวที่มีพื้นฐานดี รู้จักรูปแบบการทำธุรกิจของหุ้นตัวนั้น เลือกหุ้นที่กราฟเป็นขาขึ้น (ตามที่เขียนไปคราวก่อน) อาจจะเข้าซื้อเมื่อหุ้นเริ่มเป็นขาขึ้นมีสีเขียว เพราะถ้าเราซื้อในช่วงราคาลง หุ้นตัวนั้นอาจจะไม่ขึ้นและอาจจะลงไปอีกในวันต่อมา แต่สำหรับนักลงทุนระยะยาวจะเลือกซื้อหุ้นที่ราคาต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเชื่อในหุ้นตัวนั้นว่าเป็นหุ้นที่ดี ปัญหาคือเราจะรู้ได้ยังไงว่าหุ้นตัวนั้นดีจริง และจะกลับมาขึ้นในอนาคต
“กฎข้อที่ 1 จงอย่าขาดทุน”
-------วอร์เรน บัฟเฟตต์
By zurristic
AgeLoc Technology & Antioxidant
สารต้านอนุมูลอิสระและชะลอความชรา
-----------------โปรโมชั่นประจำเดือนเมษายน 2556-------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น