Money In Stocks - ออมเงินในหุ้น

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เงินเกษียณอายุ



เงินออมเพื่อการเกษียณอายุ 

สำหรับคนที่เป็นข้าราชการจะมีเงินบำเหน็จบำนาญ แต่ปัจจุบันจะเหลือแค่บำเหน็จที่เป็นเงินก้อนให้เมื่อเกษียณอายุราชการ นอกจากนี้ยังมี กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ข้าราชการต้องจ่ายสะสมเข้าไปทุกเดือนเป็นเงินทุนของตนเอง ในแต่หน่วยงานจะมีกองทุนของตัวเอง เช่น กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ชพค.) ที่สามารถกู้เงินจากกองทุนได้และจะได้รับเงินฌาปนกิจเมื่อเสียชีวิต

แล้วถ้าเราเป็นคนที่ทำงานภาคเอกชนก็จะมีกองทุนประกันสังคม ถ้ามีเงินเดือน 15,000บาท จะได้รับเงินบำนาญเมื่อเกษียณอายุเมื่อ 60ปี เดือนละประมาณ 3,000บาท ถ้าเมื่ออายุ 80ปี 3000x12เดือนx20ปี=720,000บาท คิดแบบนี้ดูเยอะแต่ 3,000บาทต่อเดือนจะพอใช้ในยามเกษียณหรือป่าว

มาเปรียบเทียบกับเงินบำเหน็จของข้าราชการเงินเดือน 15,000บาท จะเป็นเงินก้อน 15000x35ปีอายุราชการ=525,000บาท ปัจจุบันไม่มีการจ่ายบำนาญแล้วสำหรับข้าราชการ กรณีเงินบำนาญข้าราชการเอา 15000xอายุราชการ แล้วหารด้วย 50, 15000x30ปี/50=9,000บาทต่อเดือน เมื่อเสียชีวิตจะได้เงินบำนาญตกทอด 9,000x15=135,000บาท

สำหรับกองทุน ชพค. สถานศึกษาเอกชนสามารถเป็นสมาชิกได้ การกู้เงินครั้งแรกจะกู้ได้ประมาณ 600,000บาท ดอกเบี้ย 7% ต่อปี กองทุน กบข. ก็เช่นกัน วงเงินการกู้ยืมสูงกว่า ชพค. เพราะกองทุนมีขนาดใหญ่กว่า พนักงานเอกชนอาจจะมีเพียงช่องทางการกู้กับธนาคารเท่านั้นที่สะดวกที่สุด และไม่ใช่ทุกคนจะขอกู้เงินกับธนาคารได้ ถ้าคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเกณฑ์

ตัวอย่าง ข้าราชการครูเกษียณเงินเดือน 30,000บาท จะได้เงินบำเหน็จ 900,000บาท เงินบำนาญยกเลิกแล้ว, ถ้าสัมคร กองทุน ชพค. ประมาณ 900,000บาท (ได้เมื่อเสียชีวิต) และ กบข. ประมาณ 900,000บาท หรือมากกว่า (ได้เมื่อเกษียณ) รวมเป็นเงินประมาณ 2,700,000บาท ถ้ายังมีชีวิตอยู่จะมีเงินไว้ใช้ 1,800,000บาท โดย ชพค. และ กบข. ต้องสมทบเงินเข้ากองทุนทุกเดือนเหมือนประกันสังคมแต่คุ้มค่ากว่า

พนักงานเอกชนถ้ามีประกันสังคมอย่างเดียว อัตราที่จ่ายสูงสุดเพียง 7,500 บาทต่อเดือนเท่านั้น การรักษาพยาบาล ค่าทำฟัน 400บาทต่อปี เป็นไข้หวัดไปคลินิกที่รับประกันสังคม หมอคิด 400บาท เราจ่าย 200บาท อีก 200 ประกันสังคมจ่าย คงจะไม่พอที่จะดำรงชีวิตหลังเกษียณ แต่โรคพื้นฐานที่กำหนดไว้ประกันสังคมจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน คือ ประกันสังคมจ่ายค่ารักษาให้ทั้งหมด ยกเว้นค่าใช้จ่ายอื่นที่เพิ่มเข้ามา เช่น ห้องพักพิเศษ เลนส์ตาเทียมนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น

สำหรับข้าราชการเกษียณอายุ ค่ารักษาพยาบาลไม่ว่าโรคอะไร รัฐบาลมีสวัสดิการจ่ายให้หมด ถ้าพักห้องพิเศษจะเบิกได้ 700/คืน เกินนั้นจ่ายเพิ่มเอง แต่ค่าผ่าตัด ค่ายา ไม่ต้องจ่าย

จึงมีการจัดตั้งกองทุน RMF เพื่อให้เอกชนได้มีการออมเงินเพื่อการเกษียณ ซึ่งมีผู้ที่เข้าร่วมจำนวนไม่มากนัก พนักงานภาคเอกชนจึงจะมีปัญหากับเงินที่จะใช้หลังเกษียณอายุ ถ้าไม่ได้วางแผนการเงินในการเกษียณอายุ โดยการออมใน RMF เริ่มได้ที่ 1,000บาท ซึ่งผู้มีรายได้ไม่มากก็สามารถเข้ากองทุนนี้ได้ ไม่ได้เป็นกองทุนสำหรับผู้มีรายได้สูง อย่างที่รัฐบาลจะเอามาเป็นข้ออ้างในการจะตัดสิทธิ์การยกเว้นภาษีเงินปันผลของทั้ง RMF และ LTF

ถ้าพนักงานเอกชนยังไม่คิดว่าจะออมเงินในกองทุน RMF ก็ต้องไปซื้อประกันชีวิต และถ้าจะให้ครอบคลุมการรักษาพยาบาลที่ดีพอ ก็ต้องจ่ายเบี้ยประกันปีละเป็นหมื่นบาท


ตัวอย่าง ผลตอบแทนจากกองทุน


เราสามารถออมเงินใน RMF ได้โดยติดต่อที่ธนาคารพาณิชย์ได้ทุกแห่ง เพื่อขอซื้อกองทุนแล้วรอรับปันผลปลายปีทุกปี และสามารถถอนเงินหรือขายกองทุนออกไปตามระยะเวลาที่แต่ละกองทุนกำหนด RMF ผลตอบแทนประมาณ 1-4% แล้วแต่ว่าซื้อของธนาคารอะไร, กองทุน LTF ประมาณ 1-5% ดอกเบี้ยเงินฝาก 0.25% ต่อปี ลงทุนในหุ้นประมาณ 5-10% ต่อปี เราเลือกลงทุนตามความสามารถในการรับความเสี่ยงที่มากน้อยต่างกัน

เราเริ่มต้นการออมได้โดยการมีเงินเก็บในธนาคารจำนวนหนึ่งและออมเงินอย่างสม่ำเสมอ เป็นการวางแผนการเงินเกษียณในระยะแรกได้ แล้วจึงเริ่มการวางแผนในกองทุนหรือหุ้นต่อไป

ไม่ว่าจะเป็นกองทุนประกันสังคม กองทุน กบข. หรือ RMF จะนำเงินของสมาชิกไปลงทุนในตลาดหุ้น ไม่ว่าคุณจะสนใจตลาดหุ้นหรือไม่ คุณก็ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นในทางอ้อมอยู่ดี


 ได้คิดถึงเงินหลังเกษียณอายุกันหรือยัง ครับ


By zurristic









Age Technology & Antioxidant
สารต้านอนุมูลอิสระและชะลอความชรา















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น