กำไรหุ้นแบบย้อนศร ตอนที่ 3
คุณพิชัย จะไม่เล่นหุ้นในระยะสั้น จะซื้อและถือหุ้นตั้งแต่ 1,200 จุด และรอขายออกที่ 2,000 จุด แต่จากทฤษฎีบอกว่า กลไกของระบบผลประโยชน์เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาแม้แต่รายวินาที ผมจึงลองเอามาทดลองใช้กับการเล่นหุ้นเดย์เทรด
เพื่อให้การเก็งกำไรจะไม่ขาดทุนบ่อยครั้งหรือเข้าซื้อไม่ทัน ลองเลือกหุ้น ตัวสีแดง ที่ย่อลงมาประมาณ RSI 30 หรือน้อยกว่ายิ่งดี เพราะเป็นจุดที่หุ้นตัวนั้นจะกลับตัวขึ้นไป ถ้าเราไปเข้าตัวสีเขียวที่กำลังวิ่ง เราจะเข้าไม่ทันและถ้าเข้าไปแล้ว หุ้นตัวนั้นจะกลับตัวลงได้ตลอดเวลา และเราก็จะออกไม่ทันอีก
เมื่อ รายย่อย ที่เป็นคนส่วนใหญ่ (Mass) เข้าตามไล่ราคาหุ้นตอนที่ขึ้นไปสูง เมื่อมีจำนวนคนเข้ามาซื้อจนจำนวนรายย่อยเป็น 90% โดยประมาณของผู้ที่เล่นหุ้นตัวนี้อยู่ทั้งหมด คือ มีคนที่ซื้อในขณะนั้นมากกว่าคนที่ขาย มีเพียง 10% เท่านั้นที่ทำการขาย จับคู่ราคา กับฝั่งผู้ซื้อ
แต่ใน 10% นี้ จำนวนหุ้นและจำนวนเงินที่ขายออกไป เท่ากับ จำนวนที่ฝั่งซื้อกำลังซื้ออยู่ และจำนวนการขายที่ว่านั้นจะออกจากมือของ รายใหญ่ ทั้งหมด คือ การซื้อของรายย่อยทุกคน ได้รับหุ้นไปจากรายใหญ่เพียงคนเดียว (สมมุติว่ามีรายใหญ่คนเดียวเล่นอยู่ เพื่อเข้าใจได้ง่าย)
จากจุดสูงสุดที่หุ้นตัวนั้นขึ้นไปได้ ราคาจะเริ่มกลับตัวลงมา ณ จุดที่คนส่วนใหญ่เข้ามาซื้อพร้อมกันทั้งหมด รายใหญ่ก็ทยอยขายให้ ราคาก็จะลงมาเรื่อย ๆ
เมื่อหุ้นลงมาถึงจุดต่ำสุด เป็นจุดที่ คนส่วนใหญ่ 90% ได้ขายหุ้นออกมาพร้อมกันทั้งหมด จากที่ราคาขยับลงมาเรื่อย ๆ คือ ทยอยขายออกตามราคาที่ลดลงมา ในช่วงนี้ รายใหญ่คนนั้น ก็ได้รับซื้อหุ้นที่ขายออกมาตลอดทางด้วยเช่นกัน เมื่อถึงจุดที่รายย่อยทั้งหมดขายหุ้นออกมาพร้อมกัน ราคาหุ้นก็จะขยับขึ้นไปเรื่อย ๆ
จากการรับซื้อหุ้นทั้งหมดนั้นไว้โดยรายใหญ่คนนั้น ทิศทางราคาจึงกลับขึ้นไปเพราะเป็นการซื้อของคนเพียงคนเดียว แต่จำนวนเงินและจำนวนหุ้นนั้นเท่ากับจำนวนของรายย่อยทั้งหมดที่ขายออกมา ถ้าเราเลือกเข้าหุ้น ตัวสีแดง ที่ลงมาต่ำที่จุดต่ำสุด จะเป็นจุดกลับตัวของราคาขึ้นไปทำจุดสูงสุดอีกรอบ ตามวงจรที่กล่าวข้างต้นนั้น
หุ้นไม่กลับขึ้นแม่ว่าลงมาต่ำมาก
อาจเป็นเพราะปริมาณการซื้อขายยังไม่มาดพอที่จะทำให้ราคาขยับขึ้นไป
ถ้าอธิบายด้วยการใช้โปรแกรมซื้อขายอัตโนมัติแบบ Robot ของรายใหญ่ เขาเพียงปล่อยให้โปรแกรมทำงานไป มันจะจับคู่ราคาโดยอัตโนมัติ เมื่อรายย่อยทำการซื้อหรือการขายข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกันหมดในหุ้นตัวนั้น ๆ ก็จะเป็นจุดกลับตัวของหุ้นทั้งขาขึ้นและขาลง เราจะทำกำไรได้ก็ต่อเมื่อเรา ทำตรงข้าม กับคนส่วนใหญ่และเลือกซื้อในเวลาที่ รายใหญ่ซื้อ ก็คือจุดที่ หุ้นลงมาต่ำกว่า RSI 30
และถ้าเข้าแล้ว เกิดหุ้นตัวนั้นไม่วิ่งขึ้นไปในวันนั้น ให้ขายทิ้งไปก่อน เพราะ warrant จะสวิงแรงมากและอาจจะลงต่อไปได้อีก ถ้าไม่กลับขึ้นไป ไม่ควรห่อของกลับบ้านเด็ดขาด
ตามที่เคยเขียนไปก่อนหน้านี้ เราตั้งค่าช่อง Ticker ในหน้าแรกของ Streaming ให้แสดงค่าเฉพาะหุ้น Warrant เพื่อเลือกเล่นเฉพาะ warrant เท่านั้น ถ้าชอบหุ้นตัวเล็กก็สุดแล้วความถนัด แต่หลักการเหมือนกัน ใช้กราฟราย 1 นาที เพื่อเข้าซื้อหุ้นได้ทันก่อนที่ราคาจะกลับตัวขึ้นไป เครื่องมืออื่น ๆ จะตัดขึ้นทั้งหมดถ้าราคาเริ่มขยับกลับขึ้นไป
จุดขายหุ้นทำกำไร คือที่ RSI ประมาณ 80% ใจกล้าหน่อยก็ 90% หรือขายเมื่อมีแท่งแดงแท่งแรกในกราฟรายนาที ดูกราฟราย 3, 5 นาที ช่วยด้วยได้ ถ้ายังเป็นแท่งเขียวอยู่ก็ยังไม่ขาย
ถ้าไม่เล่นเดย์เทรด ลองเล่น Derivative Warrant (DW) หลักการเดียวกันคือ เราดูหุ้นตัวที่พิ้นฐานดีหน่อยอย่าง BDMS, KTC ลงมาต่ำมาก เราเข้าซื้อ DW ที่จุดต่ำสุด RSI ต่ำกว่า 30 ดูวันหมดอายุของ DW 3 เดือนข้างหน้า เผื่อว่าหุ้นตัวนั้นกลับขึ้นไปได้ช้า DW ก็จะวิ่งตามหุ้นตัวแม่ เรารอขายตามที่พอใจ แต่ต้องใจเย็นและรอถือไว้ได้ ใช้กราฟรายวันดูจุดต่ำสุดเพื่อเข้าซื้อ
วงจรของหุ้นที่ขึ้นลงอธิบายได้ตามทฤษฎีผลประโยชน์แบบที่เขียนมานี้ วงจรแบบนี้จึงเกิดตั้งแต่รายวินาที นาที วัน สัปดาห์ ไปจนถึงรอบใหญ่ของทั้งตลาด
ณ จุดที่ต่ำกว่า 1,600 จุด นี้ ในที่สุด SET ก็จะผ่านไปได้ จุดนี้เป็นจุดที่รายย่อยมีปริมาณการซื้อขายพอ ๆ กัน ตลาดจึง sideway วันไหนที่ตลาดขึ้นไปได้ 10 จุด แสดงว่า วันนั้นรายย่อยขายออกมามากพร้อม ๆ กันทั้งหมด แล้วรายใหญ่ก็รับซื้อหุ้นจำนวนนั้นของรายย่อยไว้ทั้งหมดเช่นกัน ตลาดจึงขึ้นในวันนั้น เพราะเป็นการซื้อด้วยจำนวนเงินเท่ากับที่รายย่อยขายออกมาทั้งหมด
รายใหญ่ที่ว่านี้ เป็นผู้ที่เงินของพวกเขาอยู่ในตลาดเก็งกำไรทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ตลาดหุ้น ทองคำ ค่าเงินทุกสกุล Bitcoin ตลาดสินค้าล่วงหน้าทั้งหมด แล้ว คนปั่นหุ้น ที่เป็นคนไทย มีเงินสู้กับเขาได้หรือ คือ คำถาม การปั่นหุ้นคงมีแน่นอน แต่ปั่นแล้วเอาเงินมาจากรายใหญ่ได้หรือป่าวเท่านั้น ที่จะถามอีกข้อ เราไม่ต้องกลัวคนปั่นหุ้นเพราะทำอะไรกับตลาดไม่ได้ แต่ควรกลัวรายใหญ่ให้มาก ๆ เลย
อันนี้เป็นข้อสมมุติฐาน คือ มีรายใหญ่อยู่จำนวนหนึ่งประมาณ 3% ของจำนวนคนทั้งหมดที่อยู่ในตลาดทั้งโลก อีก 97% เป็นรายย่อยทั้งหมด การขึ้นลงของราคาหุ้นเป็นเพราะ เงินของรายใหญ่เพียงไม่กี่คนเท่ากับเงินของรายย่อยทั้งหมดทั่วโลก
ทิศทางของราคาหุ้นจึงเกิดจากการซื้อหรือขายของรายใหญ่ เมื่อเขาซื้อราคาก็จะขึ้น เมื่อขายราคาทั้งตลาดก็จะตกลงมา จึงตรงข้ามกับรายย่อย เมื่อพวกเขาซื้อพร้อมกัน ราคาจะลง และเมื่อขายพร้อมกัน ราคาจึงขึ้นไป
รายใหญ่ไม่ได้เป็นผู้กำหนดทิศทางของตลาดได้ แต่เขารอเวลาที่รายย่อยจะทำเหมือนกันทั้งหมดในทางใดทางหนึ่ง เขาเพียงรอจับคู่ราคาด้วย Robot หรือเครื่องมืออะไรเราไม่อาจรู้ได้ เรารู้ได้เพียงแค่ว่า รายใหญ่ที่ว่านั้นน่าจะมีตัวตนอยู่จริง
ทฤษฎีผลประโยชน์ จึงเป็น สมมุติฐานที่อธิบายตลาดเก็งกำไรทั่วโลกว่า มีปรากฎการณ์เป็นวงจรการขึ้นลงของราคาดังกล่าวนี้
ถ้ามาดูหุ้นรายตัว อย่าง TKN นักวิเคราะห์บอกราคาที่ 28 บาท เกินมูลค่าแล้ว ก็จริงตามนั้น ราคาหุ้นขึ้นมามากว่า 400% จาก 5 บาท อธิบายได้ว่า มีคนเข้ามาเล่นหุ้นตัวนี้เยอะมาก ก็เกิดการเก็งกำไรแบบสมบูรณ์ เกิดการซื้อขายจำนวนมาก ราคาหุ้นก็ขยับขึ้นมาได้มากด้วย หุ้นตัวที่ราคาขึ้นมาสูงเกินมูลค่าก็จะมีลักษณะเดียวกันแบบนี้ คือ พื้นฐานของหุ้นไม่รองรับราคาที่แพงแล้วเพราะ เกิดการเก็งกำไรแบบสมบูรณ์ในหุ้นตัวนี้แล้ว
ถ้าเป็น CPALL เป็นหุ้นแบบ แพงแล้วแพงได้อีก จาก 40 บาท ว่าแพงแล้ว ขึ้นมาที่ 60 บาท สมมุติฐานได้ว่า ราคาที่ 40 คนคิดว่าแพงแล้ว ไม่น่าจะไปต่อได้จึงมีการขายออกมาเป็นระยะ แล้วรายใหญ่ก็รับซื้อไว้ทั้งหมดตามเดิม ราคาก็ขยับขึ้นไปที่ 60 แสดงว่ามีการขายออกมาจำนวนมาก ราคาจึงวิ่งขึ้นมาอีกถึง 20 บาท ก็เป็นเช่นฉะนี้ ตามทฤษฎีผลประโยชน์
แม้แต่หุ้น VI ที่มีคนถือจำนวนมาก ก็จะเกิดการเกินมูลค่าได้ เพราะ มีการเทขายหุ้นออกมามาก คือ มีการถือครองหุ้นน้อยลงจากการขายทำกำไรออกมา จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาแรงไปด้วย
ตรรกะของตลาดหุ้น
ไม่ใช่ตรรกะแบบที่คุณรู้
By zurrist
รับออกแบบ ก่อสร้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น