Money In Stocks - ออมเงินในหุ้น

วันเสาร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

จุดกำเนิดทฤษฎีผลประโยชน์





จุดกำเนิดของ ทฤษฎีระบบผลประโยชน์


การเขียนบทความนี้ ถอดความและเรียบเรียงจากหนังสือและยูทูบของ คุณพิชัย จาวลา มีคนถามคุณพิชัย ว่า ทฤษฎึนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ที่มาของ ทฤษฎีระบบผลประโยชน์ เกิดจากการเข้าจับคู่ match ราคาของ รายใหญ่จำนวน 3% ในหุ้นรายตัวที่มี รายย่อย (Mass) จำนวน 97% ซื้อขายในเวลานั้น ถ้าขณะนั้นมีคน 100คน จะมีรายใหญ่ 3คน และมีรายย่อย 97คน เป็นตัวเลขสมมุติเพื่อให้เห็นว่า จำนวนของรายใหญ่มีไม่กี่คนแต่มีเงินเท่ากับเงินของรายย่อย 97คน

เมื่อมีปริมาณการซื้อขายถึงจุด ขายมาก (oversold) ค่า RSI ในกราฟจะแสดงค่าต่ำกว่า 30 และยังมีการซื้อขายอย่างต่อเนื้อง ณ จุดนี้ เกิดการขายออกมาพร้อมกันของรายย่อย และรายใหญ่ก็จับคู่ซื้อไว้ทั้งหมด แล้วหุ้นตัวนั้นจึงเป็นขาขึ้น หรืออาจจะเด้งขึ้นอย่างแรง เพราะเป็น จำนวนหุ้นประมาณ 90% ที่รายย่อยขายออกมาเกือบทั้งหมดจากจำนวนที่หุ้นตัวนี้มีในตลาด เมื่อรายใหญ่รับซื้อหุ้นตัวนี้ไปเรื่อยๆ ราคาก็ขึ้นไปเรื่อยๆ เช่นกัน จนเกิดเป็นขาขึ้นในที่สุด


THAI เด้งขึ้นในวันเดียว 18% แม้ว่าผลประกอบการจะขาดทุนและมีปัญหาในองค์กรมากมาย


จากวงจรเล็กในหุ้นรายตัว ก็จะเกิดกลไกของราคาแบบเดียวกันนี้ตั้งแต่ วินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี เกิดการขึ้นลงของหุ้นเป็นรอบๆ ทั้งวงจรเล็กและใหญ่ซ้อนๆ กันอยู่ เมื่อมองในภาพใหญ่ทั้งตลาด SET ก็จะเกิดเป็นขาขึ้นและขาลงของตลาดที่ใช้เวลาขึ้นลงเป็นเวลาหลายปี แต่อธิบายด้วยวงจรและกลไกแบบการเข้าซื้อขายในหุ้นรายตัวดังกล่าว

เราไม่อาจรู้ได้ว่า รายใหญ่เป็นคนสร้างระบบผลประโยชน์ให้มันเกิดขึ้นมาตั้งแต่แรก หรือ ว่ามันเกิดขึ้นโดนบังเอิญ สมมุติฐาน ในสิ่งที่รายใหญ่ทำคือ การรอจับคู่ราคาที่ถูกซื้อขายออกมาอยู่ตลาดเวลา เมื่อรายใหญ่มีหุ้นอยู่ในมือจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ราคาก็ขยับขึ้นไปตาม หุ้นตัวนั้นจึงเป็นขาขึ้นจากการรับซื้อหุ้นจากรายย่อยที่ขายออกมาให้ทั้งหมดนั้น

และหุ้นเป็นขาลง ก็ตรงข้ามกันคือ รายใหญ่เริ่มขายหุ้นให้กับรายย่อยที่เข้ามาซื้อหุ้นในจุดที่ราคาขึ้นไปสูงขึ้นเรื่อยๆ แล้วเกิดกลับตัวเป็นขาลงในที่สุดเมื่อถึงจุด ซื้อมาก (Overbought) ที่ช่วงค่า RSI 70-90

ถึงตรงนี้ ผู้อ่าน ก็คงบอกมันก็เป็นวงจรของหุ้นปกติ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ จุดกลับตัวขึ้นหรือลงของหุ้นมันอยู่ที่ การมีหุ้นอยู่ในมือรายใหญ่จำนวนประมาณ 90% ของหุ้นทั้งหมด และมันเกิดรูปแบบเหมือนกันนี้ในหุ้นเกือบทุกตัว รายใหญ่จึงเป็นผู้ได้เปรียบอยู่ตลอดเวลา


AS ซึมอยู่นาน อาจเป็นเพราะมีคนติดหุ้นตัวนี้กันเยอะ และเมื่อเริ่มขายทิ้งออกมา จึงเป็นจุดเด้งขึ้นทันที


รายใหญ่อาจจะสังเกตเห็นกลไกการเคลื่อนตัวของราคาทั้งขาขึ้นและขาลง แล้วนำระบบนี้มาใช้ในทุก ๆ ตลาดเก็งกำไรของโลก เพื่อให้พวกเขาเป็นผู้กุมผลประโยชน์สูงสุดเอาไว้ในที่สุด ระบบนี้จึงทำได้ไม่ยากสำหรับรายใหญ่ เพราะพวกเขาจะจับคู่การซื้อขายจากรายย่อยในทุก ๆ ราคา แล้วรอให้กลไกมันเกิดขึ้นเองตามปริมาณการซื้อขายที่เกิดการกลับตัวทั้งขาขึ้นและขาลง

อาจจะตั้ง สมมุติฐาน ได้อีกข้อว่า เมื่อรายใหญ่ทำตามระบบด้วยการรอจับคู่ราคาไปเรื่อยๆ กลไกของระบบผลประโยชน์จะเกิดขึ้นเองได้โดย อัตโนมัติ

และเป็นความเชื่อส่วนตัวของผมว่า รายใหญ่ใช้ Robot (โปรแกรมซื้อขายหุ้นแบบอัตโนมัติ) ในการช่วยซื้อขายเพราะเขาอยู่ในทุกตลาดเก็งกำไรทั้งหมดของโลก แม้กระทั้งตลาด bitcoin ในไทยที่ซื้อขายเป็นเงินบาท คือทั้ง ตลาดอเมริกา ยุโรป เอเชีย รายใหญ่เข้าไปอยู่ในทุกตลาดทั่วโลก

ย้อนไปอ่านหัวข้อ ผู้คุมตลาดหุ้น ที่คนรวย 8คน มีเงินเท่ากับคนจนครึ่งโลก แสดงให้เห็นว่ารายใหญ่มีเงินมหาศาลที่กระจายอยู่ทั่วโลก

ตลาดดาวโจนส์ ต้นกำเนิดของตลาดหุ้นมีอายุประมาณ 121 ปี จากปี ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) และหุ้น IBM เข้าตลาดในปี 1979 เลยเดาเอาว่า ระบบผลประโยชน์อาจจะเกิดขึ้นในช่วงที่มีระบบซื้อขายด้วยคอมพิวเตอร์แล้ว เพราะต้องใช้ Robot ถึงจะเข้าซื้อขายในทุกตลาดของโลกได้ แม้แต่หุ้นรายตัวก็มีสภาพคล่องและมีการซื้อขายอยู่ตลอดเวลา เราสามารถเข้าซื้อขายหุ้นในเวลาที่ต้องการได้แทบทุกตัวที่มีอยู่ในตลาด


กราฟรายนาที แท่งสีเขียว 7แท่ง ใน 7นาที


การพูดถึง การปั่นหุ้น คงจะมีคนปั่นอยู่จริง แต่ไม่มีทางที่คนปั่นจะมีเงินเท่ากับรายใหญ่ได้ ในหุ้นตัวที่ว่ามีการปั่นและราคาวิ่งขึ้นไปสูง เพราะมีคนเข้ามาเล่นหุ้นตัวนั้นมาก ปริมาณซื้อขายก็มาก โดยเกิดจุดที่รายย่อยขายออกมาที่ปริมาณ 90% รายใหญ่เข้าจับคู่ซื้อไว้ทั้งหมด ราคาจะเริมขยับขึ้นไปเรื่อยๆ จนเกิดกลไกของระบบผลประโยชน์ ทำให้เราเห็นหุ้นวิ่งขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่นาที

ในกรณีที่ว่ามี การทุบหุ้น เกิดจากรายย่อยที่เข้าซื้อพร้อมกันในจุดที่หุ้นขึ้นไปสูงแล้ว รายใหญ่ก็ขายให้ทั้งหมดด้วยปริมาณเงินที่เท่ากัน จึงเป็นการขายในปริมาณประมาณ 90% ของหุ้นตัวนั้น ราคาจึงตกลงอย่างรวดเร็วเหมือนหุ้นถูกทุบลงมา

และการปั่นหุ้น หรือ การทุบหุ้น ก็เป็นเพียงเรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมาแค่นั้น ไม่มีใครรู้ว่าเป็นจริงตามนั้นหรือไม่




ในต่างประเทศระดับสถาบันการเงินขนาดใหญ่ก็จะรู้เกี่ยวกับระบบนี้ อย่างเช่น กองทุนเทมาเส็ก ที่คุณพิชัยกล่าวถึง แต่ก็มีเรื่องแปลกว่าองค์กรใหญ่อย่าง OPEC ก็ไม่ได้เข้าใจในระบบนี้ เพราะไม่ได้เข้าใจกลไกการขึ้นลงของราคาน้ำมันอย่างแท้จริง และรัฐบาลไทยก็ไม่เข้าใจในระบบนี้ ดูจากวิกฤติปี 40 ที่ค่าเงินบาทไปถึง 55บาทต่อดอลลาร์ ถ้าเข้าใจในระบบนี้จะไม่เกิดความเสียหายแบบที่ผ่านมา (มีการเขียนเรื่องนี้อย่างละเอียดในหนังสือของ คุณพิชัย)

ระบบผลประโยชน์จึง หมายถึง ผลประโยชน์อันเป็นกำไรที่รายใหญ่จะเป็นผู้ได้รับ และรายย่อยทั้งโลกเป็นผู้เสียประโยชน์หรือขาดทุนอยู่เป็นประจำ โดยรายย่อยที่ว่านี้จะเป็นคนที่เข้าซื้อขายในช่วงเวลานั้นเท่านั้น ผู้ที่ไม่ได้เข้าซื้อขายจะไม่ถูกรวมเข้าไปด้วย อย่างนักลงทุน VI ก็จะไม่ถูกรวมด้วยเพราะเขาถือหุ้นระยะยาว

และทฤษฎีนี้ ไม่ได้มีการเผยแพร่ในต่างประเทศตามที่ คุณพิชัย เคยกล่าวถึงมีเพียงแนวคิดของ จอร์ส โซรอส เรื่อง Two-way reflection ที่ทั่วโลกได้เห็นกัน ซึ่งเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของระบบผลประโยชน์เท่านั้น

ภาพจาก Google


ระบบนี้มีมาของมันอยู่แล้ว และคุณพิชัย เป็นผู้ที่นำมาอธิบายอย่างละเอียดให้เราคนไทยได้รู้ และหนังสือของคุณพิชัย กำลังจะแปลเป็นภาษาอื่น ๆ เพื่อจัดจำหน่ายในต่างประเทศด้วย เปรียบเหมือนกับ ระบบสุริยะจักรวาล ที่นักดาราศาสตร์ได้อธิบายว่าจะประกอบด้วย ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์อีกหลายดวง คุณพิชัย ก็ได้อธิบายว่า ในตลาดเก็งกำไรมีกลไกการขึ้นลงของราคาที่รายใหญ่จะเป็นผู้ได้ประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว ด้วยการจับจิตวิทยาของนักลงทุนรายย่อย ที่จะทำให้รายย่อยเป็นผู้เสียประโยชน์และขาดทุนอยู่ตลาดเวลา

แล้วทำไมไม่มีการพูดถึงทฤษฎีนี้ในระดับโลก

ก็ถ้าทุกคนในโลกรู้และเข้าใจทฤษฎีนี้เสียแล้ว รายใหญ่ก็จะไม่สามารถทำกำไรในตลาดเก็งกำไรทั่วโลกได้อีกต่อไป คุณคงเคยเห็นหรือได้ยินเรื่องที่ว่า

การไปดวงจันทร์ของมนุษย์ไม่เคยเกิดขึ้น หรือ การมีองค์กรที่สามารถควบคุมความเป็นไปของโลกได้ด้วยกลุ่มคนที่มีเงินและอำนาจมากที่สุด ภาพยนตร์เรื่อง The Matrix จึงสะท้อนภาพการที่โลกถูกควบคุมได้ด้วยอะไรบางอย่างโดยสร้างโลกเสมือนจริงขึ้นมาลวงตามนุษย์ทั้งโลกไว้





ระบบผลประโยชน์จึงเป็นเรื่องที่รายใหญ่ไม่ต้องการให้คนทั่วไปเข้าใจ

ในช่วงวิกฤติปี 40 หรือ วิกฤตซับไพร์ม โซรอส และ สถาบันระดับโลก ได้ออกมาเตือนเรื่องจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ แต่สุดท้ายวิกฤตก็เกิดขึ้นเพราะกลไกของระบบผลประโยชน์จะเคลือนไปในทิศทางที่เป็นโมเมนตัมในขาลงของมันในที่สุด และช่วงเวลานั้นสถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะดูดีจนคนส่วนใหญ่ไม่คิดว่าจะเกิดวิกฤตขึ้นได้

การคาดการณ์ทิศทางของตลาดเก็งกำไร จึงต้องอ่านความคิดของคนส่วนใหญ่ทั้งตลาดว่า ในช่วงเวลานั้นกำลังรู้สึกอย่างไรต่อตลาด เช่น รู้สึกว่าเศรษฐกิจแย่มาก ๆ หุ้นไทยไม่น่าจะไปที่ 1,800จุด ได้

ด้วยระบบผลประโยชน์ จุดนี้จึงเป็นจุดที่คนกลัวมากที่สุดพร้อม ๆ กัน กลไกของราคาหุ้นจึงจะเป็นขาขึ้น จากการขายของรายย่อยออกมาเรื่อย ๆ และรายใหญ่ก็รับซื้อไว้ทั้งหมด แล้วราคาของตลาดก็เริ่มขยับขึ้นไปเพื่อทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบนี้ ซึ่งอาจจะยืดเยื้อหรืออีกไม่นานไม่อาจจะบอกระยะเวลาที่แน่นอนได้ พิจารณาในทุก ๆ หกเดือนว่าตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร แต่มีความแน่นอนอยู่ว่าตลาดจะทำจุดสูงสุดใหม่ได้ในเวลาปีสองปีข้างหน้านี้ ทฤษฎีนี้จึงมีเรื่อง จิตวิทยาในการลงทุน ที่พูดกันบ่อยแต่เอาไปใช้จริงไม่ได้ดีพอ




ณ วันนี้ ตลาดผ่าน 1,600จุด ไปไม่ได้ อธิบายได้ว่า ในช่วงนี้รายย่อยยังเข้ามาซื้อและขายด้วยจำนวนพอ ๆ กัน ตลาดจึงผันผวน sideway และผ่านแนวต้านนี้ไปไม่ได้ เมื่อรายย่อยเริ้มขายที่จุดนี้มากกว่าการซื้อ ตลาดจึงจะผ่านจุดนี้ไปได้ นั้นคือเกิดการซื้อของรายใหญ่เป็นระยะ ๆ

จากความผันผวนของตลาดในช่วงนี้ แสดงให้เห็นว่า คนไทยไม่กลัวตลาดเลย พร้อมที่จะเข้าซื้อในจุดที่ตัวเองพอใจ ต่างจากตลาดทั่วโลกที่ทำ New high กันไปแล้วหลาย ๆ ตลาดรวมทั้ง ดาวโจนส์ ด้วย นั้นแสดงถึง กลไลของระบบฯ ได้ทำงานไปแล้วในตลาดเหล่านั้น

ดังนั้นจึงจะอธิบายได้อีกว่า สถานการณ์ต่าง ๆ หรือสภาพเศษฐกิจ จึงไม่ได้มีผลต่อตลาดเก็งกำไรแบบตรงไปตรงมา เพราะการขึ้นลงของหุ้นเกิดจากปริมาณการซื้อขายที่เปลี่ยนแปลงไปและเกิดการขึ้นลงจากกลไก ซื้อมาก หรือ ขายมาก โดยกลไกดังกล่าวจะเหมือนกันหมดในทุกตลาดเก็งกำไร ไม่ว่าจะเป็น ทองคำ ค่าเงิน น้ำมัน เงินอิเล็กทรอนิก (Bitcoin) และตลาดสินค้าล่วงหน้าอื่น ๆ

ด้วยความไม่ตรงไปตรงมาระหว่าง ชุดความรู้ ความเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน กับ ราคาหุ้น ของระบบผลประโยชน์ ทำให้มีความคิดค้านในใจของคนทั่วไปว่า กลไกของราคามันเป็นแบบนี้จริงหรือ

ลองทำความเข้าใจทฤษฎีนี้กันดู แล้วอาจจะเปลี่ยนจากการขาดทุนเป็นกำไรให้กับนักลงทุนได้


จงอย่าเชื่อ เพียงแค่ตาเห็น


By zurrist




-pichaichawlaofficialpage



สัมมนาก่อน 27 กุมภา 2559






ตลาดหุ้นทั่วโลกขึ้นพร้อมกันหมดหลายวัน ในช่วงความตรึงเครียดที่คาบสมุทรเกาหลี
ด้วยระบบผลประโยชน์ ข่าวร้ายทำให้รายย่อยขาย แล้วรายใหญ่เข้าซื้อพร้อมกันทั่วโลก จึงเขียวเกือบทุกตลาด





ภาพจาก Bloomberg











3D Moving Electronica