Day Trade ด้วยทฤษฎีผลประโยชน์
คุณพิชัย บอกว่า ทฤษฎีผลประโยชน์นั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาไม่ว่าในช่วง วินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี ถ้าเป็นแบบนั้นเราจะอธิบายการขึ้นลงของหุ้นรายตัวในการเก็งกำไรรายวันได้หรือป่าว แม้ว่า คุณพิชัย จะบอกว่าทำได้ยากที่จะหาจุดซื้อขายได้ในระยะสั้นและยากที่จะทำกำไรได้
เราลองใช้กราฟมาอธิบายด้วยทฤษฏีดู เมื่อเปิดตลาดเรามองหาจุดที่ คนส่วนใหญ่เริ่มขาย จนถึงจุดที่มีการขายของคน 90% โดยเป็นการสมมุติประมาณการเพราะเราจะไม่รู้ว่าจำนวนจริงๆ ของคนส่วนใหญ่จะเป็นเท่าไหร่ และคนส่วนน้อยก็จะเป็น 10% ที่เข้ามาซื้อขายในหุ้นตัวนี้ อาจจะเป็น 95/5 ก็ได้ เป็นเพียงการประมาณการเท่านั้น โดยคนส่วนน้อยจะมีน้อยในความเป็นจริง อย่างเช่น จอร์ส โซรอส ที่เราพอรู้จักกัน แต่จะมีคนแบบนี้ทั้งโลกไม่กี่คน จึงเรียกว่าเป็นคนส่วนน้อย
เราลองใช้กราฟมาอธิบายด้วยทฤษฏีดู เมื่อเปิดตลาดเรามองหาจุดที่ คนส่วนใหญ่เริ่มขาย จนถึงจุดที่มีการขายของคน 90% โดยเป็นการสมมุติประมาณการเพราะเราจะไม่รู้ว่าจำนวนจริงๆ ของคนส่วนใหญ่จะเป็นเท่าไหร่ และคนส่วนน้อยก็จะเป็น 10% ที่เข้ามาซื้อขายในหุ้นตัวนี้ อาจจะเป็น 95/5 ก็ได้ เป็นเพียงการประมาณการเท่านั้น โดยคนส่วนน้อยจะมีน้อยในความเป็นจริง อย่างเช่น จอร์ส โซรอส ที่เราพอรู้จักกัน แต่จะมีคนแบบนี้ทั้งโลกไม่กี่คน จึงเรียกว่าเป็นคนส่วนน้อย
จุดที่คน 90% ขาย และ RSI ลงต่ำสุด ในรอบที่เล่นนี้ เป็นจุดกลับตัวขึ้นของหุ้นจากการขายของคนส่วนใหญ่ และเป็น จุดเข้าซื้อของเรา ที่จะเกาะไปกับคนส่วนน้อยที่เป็นรายใหญ่ที่เข้าไป match ราคา เราเอาทฤษฏีมาใช้จึงอธิบายได้แบบนี้ว่าหุ้นตัวนี้ขึ้นไปเพราะรายใหญ่เข้าเก็บในราคาที่คนสว่นใหญ่ขายออกมาไว้ทั้งหมด โดยต้องบอกก่อนว่าเราจะไม่รู้ว่าความจริงเป็นแบบนี้หรือป่าว เป็นการสมมุติฐานว่าอธิบายได้แบบนี้
เมื่อ RSI ไปที่ 90% เราก็เตรียมขายเพื่อทำกำไร เพราะคนส่วนใหญ่และคนปั่นหุ้นได้เข้ามาไล่ราคาตามแท่งราคาที่ขยับขึ้นไปจนปริมาณซื้อมาก คนส่วนน้อย 10% นั้นก็ขายหุ้น match ราคากับคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาซื้อ หุ้นก็จะเริ่มย่อตัวลง โดยคนส่วนใหญ่ก็จะขาดทุนจากการตามไล่ราคา และคนส่วนน้อยก็จะได้กำไรไปเรียบร้อยแล้วเมื่อเกิดการ match ราคาตลอดช่วงเวลานั้น อาเมน!!
โดยกราฟที่เห็นนี้ เป็นรูปแบบที่เราเห็นปกติอยู่แล้ว แต่เรามองในมุมของทฤษฎีผลประโยชน์จึงอธิบายจุดซื้อและขายรวมทั้งผู้เข้ามาเล่น แตกต่างจากการมองแบบปกติ
เราควรเลือกหุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายมากๆ เป็น 1 ล้านหุ้นขึ้นไป ยิ่งมากยิ่งดี และต้องเข้าใจว่าหุ้นตัวนั้นอาจจะไม่วิ่งขึ้นไปสูงตามที่คิดก็ได้ อาจจะวิ่งไป 4-5 แท่งราคา แล้วก็หยุดวิ่งก็ได้ การเลือกหุ้นที่มีปริมาณซื้อขายมากๆ ราคาก็มีแนวโน้มจะขึ้นไปมากด้วย หุ้นบางตัวเล่นรอบแรก 10.00 น. แล้วมาเล่นอีกรอบตอน 16.00 น. ก็มี เล่นได้สองรอบเลย จึงไม่อาจจะบอกได้ว่าเราเข้าแล้วหุ้นตัวนั้นจะวิ่งหรือป่าว ถ้าเราไม่อยากเฝ้านานก็ต้องขายทิ้งไปก่อน
การเลือกหุ้นเราใช้ช่อง Ticker ในหน้าหลักร่วมกับหน้า Top Gainer ผมตัดไม่ให้แสดงหุ้นตัวปกติที่ setting จะเน้นดูที่หุ้น warrant เป็นหลักเพราะจะวิ่งให้เห็นบ่อยกว่า และจะมี e-fin F6 ที่แสดงหุ้นที่มีการซื้อขาย 1,2,3 ช่องตามลำดับ ถ้า 3 ช่อง (spread) ก็คือ ราคาขยับที่เดียวสามช่องเลย คือมีการเข้าซื้อมาก ก็ใช้เลือกหุ้นช่วยกัน ในวันที่ตลาดลง warrant ก็อาจจะวิ่งได้ดีกว่าวันตลาดขึ้น อาจเป็นเพราะคนไปเล่นหุ้นตัวเล็กมากกว่าในการเก็งกำไร
ทั้งหมดนี้ผมเอามาอธิบายเองนะครับ ผู้สนใจต้องอ่านหนังสือของคุณพิชัย และศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจทฤษฎีนี้มากขึ้น เพราะคุณพิชัยให้ลงทุนระยะยาวหรือเล่นเป็นรอบ ไม่แนะนำให้เล่นสั้นเนื่องจากเราจะมองหาจุด 90/10 นั้นจากวงจรรายวันได้ยาก
เราต้องเชื่อแนวคิดนี้ 100% จึงจะใช้ทฤษฎีนี้ได้ผล โดยมองข่าวสารและเหตุผลว่าไม่สามารถกำหนดทิศทางขึ้นลงของตลาดได้แบบแปรผันกันโดยตรง ถ้าเชื่อครึ่งๆ กลางๆ เราจะมองไม่เห็นจุดกลับตัวขึ้น-ลงของตลาด
ถ้ามีการซื้อขายในวันนั้นทั้งตลาด 30,000 ล้านบาท สมมุติเมื่อคนส่วนใหญ่ขายทั้งตลาด แล้วคนส่วนน้อย (รายใหญ่) เข้ามาซื้อไว้ทั้งหมดในจำนวน 30,000 ล้าน นั้น เพื่อให้เห็นภาพของโมเมนตัมของปริมาณเงินที่ทำให้ตลาดเป็นขาขึ้นในวันนั้น ในตลาดขาลงก็จะตรงข้ามกัน รายใหญ่ขายทั้งหมด 30,000 ล้าน ให้กับการซื้อของคนส่วนใหญ่ ตลาดจึงเป็นขาลงในวันนั้น เพราะเป็นการขายของรายใหญ่ในจำนวนเงินทั้งหมดของทั้งตลาด
e-fin F6
การเลือกหุ้นเราใช้ช่อง Ticker ในหน้าหลักร่วมกับหน้า Top Gainer ผมตัดไม่ให้แสดงหุ้นตัวปกติที่ setting จะเน้นดูที่หุ้น warrant เป็นหลักเพราะจะวิ่งให้เห็นบ่อยกว่า และจะมี e-fin F6 ที่แสดงหุ้นที่มีการซื้อขาย 1,2,3 ช่องตามลำดับ ถ้า 3 ช่อง (spread) ก็คือ ราคาขยับที่เดียวสามช่องเลย คือมีการเข้าซื้อมาก ก็ใช้เลือกหุ้นช่วยกัน ในวันที่ตลาดลง warrant ก็อาจจะวิ่งได้ดีกว่าวันตลาดขึ้น อาจเป็นเพราะคนไปเล่นหุ้นตัวเล็กมากกว่าในการเก็งกำไร
Ticker ช่องขวามือ หุ้นที่จะวิ่ง จะเห็นเป็นชุดๆ แบบนี้
ทั้งหมดนี้ผมเอามาอธิบายเองนะครับ ผู้สนใจต้องอ่านหนังสือของคุณพิชัย และศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจทฤษฎีนี้มากขึ้น เพราะคุณพิชัยให้ลงทุนระยะยาวหรือเล่นเป็นรอบ ไม่แนะนำให้เล่นสั้นเนื่องจากเราจะมองหาจุด 90/10 นั้นจากวงจรรายวันได้ยาก
เราต้องเชื่อแนวคิดนี้ 100% จึงจะใช้ทฤษฎีนี้ได้ผล โดยมองข่าวสารและเหตุผลว่าไม่สามารถกำหนดทิศทางขึ้นลงของตลาดได้แบบแปรผันกันโดยตรง ถ้าเชื่อครึ่งๆ กลางๆ เราจะมองไม่เห็นจุดกลับตัวขึ้น-ลงของตลาด
ถ้ามีการซื้อขายในวันนั้นทั้งตลาด 30,000 ล้านบาท สมมุติเมื่อคนส่วนใหญ่ขายทั้งตลาด แล้วคนส่วนน้อย (รายใหญ่) เข้ามาซื้อไว้ทั้งหมดในจำนวน 30,000 ล้าน นั้น เพื่อให้เห็นภาพของโมเมนตัมของปริมาณเงินที่ทำให้ตลาดเป็นขาขึ้นในวันนั้น ในตลาดขาลงก็จะตรงข้ามกัน รายใหญ่ขายทั้งหมด 30,000 ล้าน ให้กับการซื้อของคนส่วนใหญ่ ตลาดจึงเป็นขาลงในวันนั้น เพราะเป็นการขายของรายใหญ่ในจำนวนเงินทั้งหมดของทั้งตลาด
ในหนังสือ The Turning Point ของ Fritjof Capra มีหัวข้อ ทางตันของเศรษฐศาสตร์ (The Impasse of Economics) บางคนแปลว่า เศรษฐศาตร์นั้นตายแล้ว และ วิทยาศาตร์ยุคเก่าของ ไอเซค นิวตัน ก็ถึงทางตันเช่นกัน ที่โดนหักล้างด้วย ทฤษฎีฟิสิกส์ยุคใหม่ ของ ไอน์สไตน์ เหตุเพราะทั้ง หลักเศรษฐศาสตร์ และ หลักฟิสิกส์ของนิวตัน เป็นการคิดแยกส่วน อธิบายเรื่องต่างๆ เป็นส่วนๆ แยกจากกัน จึงไม่สามารถใช้ได้ในโลกของความเป็นจริงที่ทุกอย่างสัมพันธ์กันหมด สูตรของเศรษฐศาสตร์มีการให้ตัวแปรอื่นๆ ที่ไม่ได้ศึกษาคงที่ เพื่อศึกษาเฉพาะตัวแปรที่ให้ความสนใจ จึงไม่สามารถอธิบายภาคธุรกิจโลกที่มีความซับซ้อนได้
ดังนั้น ทฤษฎีผลประโยชน์ จึงบอกว่า ข่าวสารและเหตุผลปกติจึงใช้กับตลาดเก็งกำไรไม่ได้ เพราะราคาหุ้นไม่ได้ขึ้นลงตามสภาพเศรษฐกิจว่าจะเป็นอย่างไร แต่ขึ้นลงเพราะปริมาณเงินของคนส่วนน้อยที่เป็นรายใหญ่ที่มีเงินจำนวนมหาศาล และสามารถ match ราคากับคนส่วนใหญ่ของทั้งตลาดได้ ไม่ว่าจะเป็นตลาดเก็งกำไรใดๆ ในโลกก็ตามจะเป็นแบบนี้ทั้งหมด
อยู่ข้างคนส่วนน้อย จึงจะกำไร
By zurristic
*รายใหญ่ (คนส่วนน้อย) - คนจำนวนน้อยประมาณ 3-5% ของโลก ที่มีเงินจำนวนมาก เช่น จอร์ส โซรอส หรือ วอร์เรน บัฟเฟต ยกตัวอย่างให้เห็นภาพแต่เราจะไม่รู้ว่าเขาคนนั้นเป็นใครกันแน่ โดยเงินของเขาจะอยู่ในทุกตลาดเก็งกำไรของโลก
*คนส่วนใหญ่ - รายย่อยผู้ที่เข้ามาซื้อขายหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นคนทั้งหมดประมาณ 90% ของทั้งตลาด โดยพิจารณาเฉพาะคนที่เข้ามาซื้อขายในช่วงเวลานั้นเท่านั้น คนที่ไม่ได้เข้ามาจะไม่นับรวมด้วย จำนวนเงินของคนส่วนใหญ่ทั้งหมดจะเท่ากับเงินของรายใหญ่ที่มีไม่กี่คนในช่วงเวลาซื้อขายขณะนั้น
อยู่ข้างคนส่วนน้อย จึงจะกำไร
By zurristic
*รายใหญ่ (คนส่วนน้อย) - คนจำนวนน้อยประมาณ 3-5% ของโลก ที่มีเงินจำนวนมาก เช่น จอร์ส โซรอส หรือ วอร์เรน บัฟเฟต ยกตัวอย่างให้เห็นภาพแต่เราจะไม่รู้ว่าเขาคนนั้นเป็นใครกันแน่ โดยเงินของเขาจะอยู่ในทุกตลาดเก็งกำไรของโลก
*คนส่วนใหญ่ - รายย่อยผู้ที่เข้ามาซื้อขายหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นคนทั้งหมดประมาณ 90% ของทั้งตลาด โดยพิจารณาเฉพาะคนที่เข้ามาซื้อขายในช่วงเวลานั้นเท่านั้น คนที่ไม่ได้เข้ามาจะไม่นับรวมด้วย จำนวนเงินของคนส่วนใหญ่ทั้งหมดจะเท่ากับเงินของรายใหญ่ที่มีไม่กี่คนในช่วงเวลาซื้อขายขณะนั้น
3D Moving
Electronica