Money In Stocks - ออมเงินในหุ้น

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

น้ำตาลเทียม อันตราย?


น้ำตาลเทียม

น้ำตาลเทียมนั้นมีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลจริง และมีคุณสมบัติที่ดีคือ ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้มากนัก ดังนั้นน้ำตาลเทียมจึงใช้ในการรักษาโรคอ้วนได้ หรือใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และที่สำคัญ คือน้ำตาลเทียมไม่เกิดการหมักในปาก ทำให้ปลอดภัยจากฟันผุ

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าน้ำตาลเทียมจะมีแต่ข้อดี ข้อเสียก็มีเหมือนกัน คือ การที่น้ำตาลเทียมไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย หากบริโภคเข้าไปมาก ก็จะไปรวมกันที่บริเวณลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีแบคทีเรียที่สามารถใช้น้ำตาลชนิดนี้ได้ และมีการสร้างแก๊สขึ้นมา ทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และถ่ายมากกว่าปกติ แต่อาการนี้ จะหายไปเมื่อหยุดกินน้ำตาลเทียม

ทางที่ดีพยายามลดการกินน้ำตาล ลดอาหารหวาน จะดีกว่า

http://www.doctor.or.th/node/3920


ปัจจุบันแอสพาร์แตมคู่แข่งของซัคคารีน( น้ำตาลเทียมอีกชนิด )กำลังได้รับ ความนิยมในการใช้เป็นน้ำตาลเทียม สำหรับผู้ที่ต้องการความหวาน แต่ไม่ต้องการน้ำตาล เช่น บุคคลที่ต้องการลดความอ้วน

แอสพาร์แตมประกอบด้วยกรดอะมิโนอันเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน 2 ตัว คือเฟนนีลอลานิน(phenylalanine) และกรดแอสพาร์ติค(aspartic acid) ที่สังเคราะห์ขึ้นในห้องแล็บ มีสีขาว ไม่มีกลิ่น มีแต่รสหวาน ไม่มีรสขม หรือรสอื่นเจือปน( แต่ซัคคารีนมีรสขมติดลิ้น ) มีความหวานประมาณ 180-200 เท่าของน้ำตาล ทำให้ใช้เพียงเล็กน้อยก็ให้ความหวานเพียงพอ

เมื่อกินแอสพาร์แตม ร่างกายย่อย เผาผลาญ และให้พลังงาน 4 คาลอรี่/กรัม เหมือนอาหารโปรตีน จึงไม่พบแอสพาร์แตมในเลือด( ส่วนซัคคารีนจะไม่เผาผลาญ และไม่เปลี่ยนแปลง ต้องขับถ่ายออกทางปัสสาวะ )

ข้อจำกัด
ปัจจุบัน ยังไม่พบอันตรายจากน้ำตาลเทียมแอสพาร์แตม มีแค่บางคนมึน ปวดศรีษะ หงุดหงิด เหนื่อยอ่อน และนอนไม่หลับ อาการเบาบาง ไม่รุนแรง และไม่บ่อย

จึงสัษนิษฐานว่าเป็นอาการแพ้เหมือนคนบางคนแพ้อาหารบางชนิด พอสรุปได้ว่าไม่มีอันตรายต่อคนปกติ

สำหรับคนเป็นโรค phenylketouria(ร่างกายเผาผลาญเฟนนีลอลานินไม่ได้ ) ไม่ควรกินน้ำตาลเทียมชนิดนี้

ข้อเสีย
- เก็บไม่ได้นานเกินหนึ่งปี
- สลายตัวที่อุณหภูมิสูง เมื่อสลายตัวจะหมดรสหวาน จึงใช้ปรุงอาหารที่ต้องผ่านความร้อนสูง
เช่น เค้ก คุกกี้ ไม่ได้ แต่ใส่ได้ภายหลังหุง ต้มเสร็จแล้ว และอาหารเย็นลงได้


ที่มา: หนังสือ"เรื่องต้องรู้เพื่อชีวิต เคมีในบ้าน" โดย อรวินท์ โทรกี


กาแฟกับกระดูกพรุน

จากการศึกษาพบว่ากาแฟทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลงเล็กน้อยประมาณ 27 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับนม 1-2 ช้อนโต๊ะ และไม่ทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น

ปริมาณแคลเซียมเท่านี้ไม่น่าจะทำให้คนที่กินแคลเซียมมากพอเป็นโรคกระดูกพรุน หากกังวลก็สามารถเติมนมไขมันต่ำหรือไม่มีไขมันลงไปในกาแฟเพื่อชดเชย หรือดื่มนมเพิ่มสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 ถ้วยขึ้นไป

ข้อดี ข้อเสีย ของกาแฟ



HealthySkin:

ถ้ายังต้องกินหวาน ก็ใส่น้ำตาลสลับกับน้ำตาลเทียม
คนที่กินกาแฟ ไม่ให้กินก็ยากอยู่

สำหรับครีมเทียมที่อันตราย เราก็ใส่นมจืดแทนได้ ครับ

หรือจะลองกาแฟใส่ขิง คือ ไม่ใส่น้ำตาล นะครับ หมอบอกว่า เพื่อปรับการดื่มกาแฟให้เป็นรสอื่นที่ไม่ให้กินหวาน
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=170969

ครีมเทียม อันตรายอย่างไร
http://healthyskiner.blogspot.com/2011/02/blog-post_27.html


ข้อดี ของกาแฟกับโรคพาร์กินสัน











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น